คณะเซอร์ร่าประเทศไทย

 

เสียงฆราวาส
บทบาทของคณะเซอร์ร่า
ในอัครสังฆมณฑลท่าแร่-หนองแสง

ถ้าเอ่ยถึงกลุ่มกิจกรรมฆราวาสในแต่ละสังฆมณฑล เราคงคุ้นเคยกับคณะพลมารีย์ คณะวินเซนต์ เดอ ปอลฯ องค์กรคู่สมรสเพื่อพระคริสต์(CFC) คณะพระเมตตา กลุ่มเฝ้าศีล กลุ่มคริสตชนพื้นฐาน(BEC) กลุ่มส่งเสริมชีวิตครอบครัว เป็นต้น แต่ยังมีกลุ่มฆราวาสอีกกลุ่มหนึ่งที่ผมเชื่อแน่ว่าหลายคนคงยังไม่รู้จัก กลุ่มนั้นคือ คณะเซอร์ร่า ซึ่งจริง ๆ แล้วก่อตั้งขึ้นในประเทศไทย 30 กว่าปีมาแล้ว และมีกลุ่มเซอร์ร่าเกิดขึ้นในทุกสังฆมณฑล ผมจึงขอแนะนำให้ผู้อ่านได้รู้จักกับบทบาทของคณะเซอร์ร่าในอัครสังฆมณฑลท่าแร่-หนองแสงพอสังเขป ดังต่อไปนี้คณะเซอร์ร่าเป็นกิจกรรมฆราวาสแพร่ธรรม ทำงานด้านส่งเสริมกระแสเรียกพระสงฆ์ นักบวชชาย-หญิง มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ

  1. ส่งเสริมและทำนุบำรุงกระแสเรียกพระสงฆ์และนักบวชชาย-หญิง
  2. ส่งเสริมกระแสเรียกฆราวาสของสมาชิกเองให้เข้มแข็งขึ้น โดยการทำงานรับใช้คณะ

คณะเซอร์ร่าก่อกำเนิดขึ้นในอัครสังฆมณฑลท่าแร่-หนองแสงเมื่อ ปี ค.ศ. 1995 โดยคณะกรรมการขยายกลุ่มสภาเซอร์ร่าแห่งประเทศไทยและคณะกรรมการเซอร์ร่ากลุ่มอุดรธานี ปัจจุบันมีคณะเซอร์ร่าในอัครสังฆมณฑลท่าแร่-หนองแสง 3 กลุ่ม คือ

  1. คณะเซอร์ร่ากลุ่มอัครเทวดามีคาแอลท่าแร่ มีสมาชิก จำนวน 25 คน
  2. กลุ่มแม่พระแห่งฟาติมาท่าแร่ มีสมาชิก จำนวน 25 คน
  3. กลุ่มวัดพระคริสตราชา บ้านช้างมิ่ง มีการประชุมกลุ่ม เดือนละ 2 ครั้ง และดำเนินกิจกรรมตามวัตถุประสงค์ของเซอร์ร่าสากลทุกประการ ทางกลุ่มได้ดำเนินกิจกรรมโดยจัดทำเป็นโครงการ ดังนี้
    1. โครงการสวดภาวนาเพื่อกระแสเรียก
    2. โครงการส่งเสริมสนับสนุนกระแสเรียกโดยการจัดค่ายแนะแนว สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และ 6 ในโรงเรียนประจำหมู่บ้านคาทอลิก ร่วมกิจกรรมสัมผัสชีวิตเณรบ้านเณรฟาติมา และจัดกิจกรรมจำหน่ายสลากเพื่อสมทบกองทุนบ้านเณรฟาติมาท่าแร่
    3. โครงการให้ขวัญและกำลังใจพระสงฆ์ และนักบวชในสังฆมณฑล โดยการส่งการ์ดอวยพรวันคล้ายวันเกิด/วันครบรอบบวช มีการมอบปัจจัย ช่อดอกไม้ ร่วมแสดงความยินดีในโอกาสต่าง ๆ เยี่ยมพระสงฆ์และซิสเตอร์ที่เจ็บป่วย เยี่ยมพระสงฆ์ที่ดูแลวัดเล็ก ๆ ที่อยู่ห่างไกล
    4. โครงการฟื้นฟูจิตตารมณ์ของสมาชิก โดยการจัดให้มีการเข้าเงียบประจำปี เพื่อกระตุ้นให้สมาชิกมีความกระตือรือร้นในการปฏิบัติหน้าที่ตามบทบาทของตนให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น
    5. โครงการสานสัมพันธ์กับกลุ่มฆราวาสอื่น ๆ เช่น กลุ่มพลมารี กลุ่มชีวิตครอบครัว กลุ่มเฝ้าศีล กลุ่มคริสชนพื้นฐาน เป็นต้น

นอกจากนี้ กลุ่มเซอร์ร่ายังได้เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการบริหารเซอร์ร่าประเทศไทยและ คณะกรรมการบริหารคณะเซอร์ร่า เขต 194 ปีละ 3 ครั้ง ร่วมงานบวชพระสงฆ์ งานฉลองวัด งานวันครอบครัวเซอร์ร่าและงานอื่น ๆ ที่ทางสภาอภิบาลวัดมอบหมาย
ปัจจุบันมี เทเรซา วิเรียม ศรีวรกุล ทำหน้าที่ประธานกลุ่มแม่พระแห่งฟาติมา และเปาโล สมฤทธิ์ กายราช เป็นเลขานุการ โทมาสประหยัด ยงดี เป็นประธานกลุ่มอัครเทวดามีคาแอล และมารีอา วิยะดา ดอนแสงเป็นเลขานุการ มารีอาสมหมาย สีทอง เป็นประธานกลุ่มวัดพระคริสตราชา บ้านช้างมิ่ง ยังมีโครงการขยายกลุ่มใหม่ให้มีเพิ่มขึ้นอีกในอัครสังฆมณฑล เพื่อให้สอดคล้องกับคติพจน์ของเซอร์ร่าสากลที่ว่า “จงก้าวไปข้างหน้าเสมอ ขออย่าได้ถอยกลับ” (Always go forward never turn back)

เปโตร นิคม กายราช
ผู้เขียน



คณะคูร์ซิลโลแห่งพระคริสตศาสนา

Cursillos.logoคณะคูร์ซิลโลแห่งพระคริสตศาสนา ถือกำเนิดที่เมืองมัลลอร์คา  ประเทศสเปน ในปี ค.ศ. 1949 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่พระศาสนจักรกำลังอ่อนแอ และศีลธรรมของคริสตชนเสื่อมลง  ผู้นำคริสตชนในหลายประเทศจึงได้พยายามที่จะรื้อฟื้นชีวิตคริสตชนของตนให้ดีขึ้น  และ ณ ที่นี้เองที่เยาวชนหนุ่มคาทอลิกที่มีใจร้อนรนในความเชื่อ  ร่วมกิจกรรมส่งเสริมความศรัทธาในรูปแบบต่างๆ  และพูดคุยถึงพระเจ้าอยู่เป็นประจำ ได้จัดกิจกรรมเดินทางไปแสวงบุญและแลกเปลี่ยนประสบการณ์แห่งชีวิตพระคริสต์   และด้วยการผลักดันอย่างเข้มแข็งของฆราวาส ชื่อ Eduardo Bonnin  และเพื่อนๆ  โดยมี คุณพ่อ ฮวน  แฮร์วาส  ซึ่งภายหลังได้รับการแต่งตั้งเป็นสังฆราชแห่งเมืองมัลลอร์คา  เป็นผู้ให้การสนับสนุนอย่างสำคัญ  ต่อมาได้พัฒนามาเป็นการอบรมผู้นำคริสตชนในรูปแบบของคูร์ซิลโลฯ

คณะคูร์ซิลโลแห่งพระคริสตศาสนา  เป็นองค์กรหนึ่งในพระศาสนจักรคาทอลิก  ที่ขับเคลื่อนโดยกลุ่มคริสตชนฆราวาส    มี นักบุญเปาโล  เป็นองค์อุปถัมภ์ (จากการประกาศแต่งตั้งของสมเด็จพระสันตะปาปาเปาโล ที่ 6)    บรรดาผู้บุกเบิกขบวนการคูร์ซิลโลฯ  ได้หล่อหลอมให้คูร์ซิลโลฯมีคุณสมบัติที่โดดเด่น  โดยการถ่ายทอดความคิด  วิถีชีวิต มาเป็นทฤษฎีที่พิสูจน์แล้วในชีวิตจริง  เพื่อปลุกสำนึกสังคมคาทอลิก  ให้ตื่นตัวในกระแสเรียกของตน

จิตตารมณ์ของคณะคือ “รักและรับใช้” โดยมีข้อกำหนดที่สำคัญ 3 ประการ คือ อุดมการณ์ (Ideal) การยอมมอบตน (Surrender) ความรัก (Charity)

คณะคูร์ซิลโลฯได้ถูกนำเข้ามาเผยแพร่ในประเทศไทยโดย คุณพ่อบุญเลิศ ธาราฉัตร ภายหลังจากที่ท่านได้เข้ารับการอบรมคูร์ซิลโล (Weekend Cursillos) ที่ประเทศฟิลลิปปินส์ การอบรมรุ่นที่ 1 จึงเกิดขึ้นในเดือน กรกฎาคม ค.ศ. 1969 ถึงวันนี้นับเป็นการย่างก้าวเข้าสู่ปีที่ 48 ที่คณะคูร์ซิลโลแห่งพระคริสตศาสนาในประเทศไทย  ได้เผยแพร่จิตตารมณ์  “รักและรับใช้”  ไปสู่สมาชิก (คูร์ซิลลิสตา) ในทุกสังฆมลฑลทั่วประเทศ  เป็นจำนวนถึง 5,971 คน ใน 160 รุ่น อันประกอบไปด้วย พระสังฆราช  พระสงฆ์  นักบวชชาย-หญิง และฆราวาส

คำว่า คูร์ซิลโล  หมายถึงการอบรม  อันเป็นหัวใจของคณะคูร์ซิลโลฯ  ในการนำคริสตชนเข้ารับการอบรมระยะสุดสัปดาห์  (Weekend Cursillos) เพื่อให้เขาเหล่านั้นกลับไปเป็นผู้นำในชุมชนของตน ที่พร้อมไปด้วยพลังแห่งการรับใช้อยู่ในกิจกรรมต่างๆ ของพระศาสนจักร โดยให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพื้นฐานชีวิตคริสตชน การฟื้นฟูจิตใจ และการกระชับความสนิทสัมพันธ์กับองค์พระเยซูเจ้า อนึ่ง คณะคูร์ซิลโลฯเป็นองค์กรที่ปราศจากพันธกิจที่เจาะจงใดๆ หากแต่สนับสนุนให้สมาชิกพัฒนาภาวะผู้นำของตนต่อการทำงานร่วมกับองค์กรอื่นๆ ให้สามารถรับใช้สังคมรอบข้าง รวมถึงการแพร่ธรรมภายใต้ขอบข่ายของพระศาสนจักร

คณะคูร์ซิลโลแห่งพระคริสตศาสนา (ประเทศไทย) แบ่งการบริหารงานเป็นระดับต่างๆ คือ ระดับชาติ ระดับสังฆมณฑล และระดับวัด โดยมีพระสงฆ์เป็นจิตตาธิการ และสำหรับความเชื่อมโยงกับต่างประเทศนั้น เราถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มภูมิภาคเอเซียแปซิฟิก (Asia Pacific Group) ซึ่งมีประเทศเกาหลีทำหน้าที่เป็นผู้ประสานงานในปัจจุบัน

คูร์ซิลลิสตาทุกคนมีโอกาสรื้อฟื้นจิตตารมณ์ของตนเองได้ด้วยการเข้าร่วมประชุมกลุ่มย่อย (Team Reunion) และอุลตรียา (Ultreya) เพื่อเป็นการกระตุ้นให้ชีวิตพระได้เจริญเติบโตในชีวิตของเรา

ในปัจจุบัน การอบรมคูร์ซิลโล (weekend Cursillos) จะถูกจัดขึ้นในวันพฤหัสบดีจนถึงวันอาทิตย์ในสัปดาห์แรกของเดือนพฤษภาคม โดยฝ่ายจัดการอบรม ในคณะกรรมการระดับชาติ  และวันพฤหัสบดีถึงวันอาทิตย์ในสัปดาห์ที่สองของเดือนตุลาคม โดยคณะกรรมการระดับสังฆมณฑล ของสังฆมณฑลจันทบุรี (ซึ่งได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการระดับชาติ ให้ดำเนินการจัดอบรมได้เอง) นอกจากนี้ยังมีการจัดอุลตรียาในสังฆมณฑลต่างๆ ตามที่จะกำหนดกันไว้ตลอดปีด้วย โดยมีจุดมุ่งหมายให้คูร์ซิลลิสตาทุกคนได้เจริญชีวิตเป็นคริสตชนที่แท้จริง เข้มแข็ง เด็ดเดี่ยวในการรับใช้พระคริสตเจ้าอย่างมีประสิทธิภาพดังคำสัญญาที่ได้ให้ไว้กับองค์พระเยซูเจ้าเมื่อจบการอบรมว่า “ลูกยินดีรับใช้พระองค์”

 

คณะซาเลเซียนผู้ร่วมงานแขวงประเทศไทย

ตราคณะซาเลเซียนผู้ร่วมงาน

คณะซาเลเซียนผู้ร่วมงาน
(Association of Salesian Cooperators)

 

คริสตชนมีวิธีดําเนินชีวิตที่หลากหลายตามความเชี่อแห่งศีลล้างบาป บางคนได้รับการดลใจจากพระจิตเจ้า และประทับใจในวิถีชีวิตของคุณพ่อบอสโก จึงตระหนักว่าอุดมการณ์ของตนนั้นเหมาะที่จะ “ร่วมงานกับท่าน” และดําเนินชีวิตตามพระพรพิเศษเดียวกันกับคณะนักบุญฟรังซิส เดอ ซาลส์ ในฐานะฆราวาส และพระสงฆ์-นักบวช

อัคราธิการกับpopeตั้งแต่แรกเริ่ม คุณพ่อบอสโกปรารถนาที่จะหาคนมาทํางานกับท่าน ท่านจึงเชื้อเชิญฆราวาสชาย-หญิง และ พระสงฆ์ที่สังกัดในสังฆมณทลให้เข้ามา “ร่วมงาน” กับท่านในพันธกิจแห่งการช่วยเยาวชน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เยาวชนที่ยากจน และถูกทอดทิ้ง  และในปี 1876 คุณพ่อบอสโกได้เขียนโครงการชีวิตของผู้ร่วมงาน โดยร่าง “ระเบียบการคณะซาเลเซียนผู้ร่วมงาน” ซึ่งต่อมาได้รับการรับรองจากสันตะสำนักอย่างเป็นทางการ ปัจจุบัน ซาเลเซียนผู้ร่วมงานแผ่ขยาย และทํางานอยู่ทั่วโลก และปฏิบัติพันธกิจซาเลเซียนในนามของพระศาสนจักรอัคราธิการมาไทย

ในประเทศไทยหมู่คณะซาเลเซียนผู้ร่วมงานกระจายอยู่ตามบ้าน และสนามงานอภิบาลซาเลเซียนเป็นหลัก จำนวน 13 หมู่คณะ และในประเทศกัมพูชาจำนวน 1 หมู่คณะ รวมมีสมาชิกกว่าร้อยคน โดยทุกหมู่คณะจะมี จิตตาธิการที่เป็นนักบวชซาเลเซียนชาย (SDB) และหญิง (FMA) เป็นผู้ช่วยเหลือเอาใจใส่ด้านการอบรม และ การประสานงานเกี่ยวกับความคิดริเริ่มในด้านการอบรม และการเผยแผ่ข่าวดี ซึ่งจิตตาธิการเหล่านี้ถือเป็นผู้ที่ได้รับ มอบหมายจากคุณพ่ออัคราธิการของคณะซาเลเซียนผู้ใหญ่สูงสุดของคณะโดยตรง

รูปแบบการดำเนินชีวิตของซาเลเซียนผู้ร่วมงานที่คุณพ่อบอสโกคิดถึง มีรูปแบบการดำเนินชีวิตทั้งในแบบ ที่เป็นฆราวาส ผู้ซึ่งเจริญชีวิตตามจิตตารมณ์ซาเลเซียนด้วยความสํานึกของการเป็นฆราวาสในทุกสถานการณ์ของ ชีวิต และการทํางาน และในแบบที่เป็นพระสังฆราช พระสงฆ์ หรือสังฆานุกร ผู้ซึ่งเจริญชีวิตศาสนบริการของตน อาศัยแรงบันดาลใจจากความรักอภิบาลของคุณพ่อบอสโก ซึ่งในอดีตที่ผ่านมาทั้งสมเด็จพระสันตะปาปาปีโอที่ 9 และสมเด็จพระสันตะปาปาปีโอที่ 11 ก็ทรงเป็นซาเลเซียนผู้ร่วมงานด้วย

ประธานแขวงมอบดอกไม้ด้วยความสัมพันธ์ที่แนบแน่นในความเป็นหนึ่งเดียวกับพระศาสนจักรนี้เอง ซาเลเซียนผู้ร่วมงานจึงแสดง ความจงรักภักดีเยี่ยงบุตรต่อองค์สมเด็จพระสันตะปาปาทุกพระองค์ ดังที่คุณพ่อบอสโกมีความจงรักภักดี ซึ่งท่านได้ สั่งสอนลูก ๆ ของท่านในความรัก 3 ประการ คือ รักพระเยซูเจ้าในศีลมหาสนิท รักในพระมารดาองค์อุปถัมภ์ และ รักในพระสันตะปาปา จึงทุกความปรารถนา และทุกคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสันตะปาปาเป็นสิ่งที่ซาเลเซียน ผู้ร่วมงานทุกคนจะยึดถือปฏิบัติ นำมารำพึงต่อเนื่อง และถือเป็นหน้าที่จะที่ทำตามพระประสงค์

สมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิส ทรงได้รับเลือกเป็นพระสันตะปาปาองค์ที่ 266 ของพระศาสนจักร ครบ 4 ปี (13 มีนาคม) ซึ่งตลอดเวลาที่ทรงรับตำแหน่งมา ทรงได้แสดงให้คริสตชนเห็นถึงความตั้งใจของพระองค์ที่ได้ทรง เลือกนาม “ฟรังซิส” นี้ เพื่อทรงบูรณะพระศาสนจักรที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน แม้จะถูกการต่อต้านทั้งจากภายใน และ ภายนอกอยู่ตลอดเวลา  และพวกเราซาเลเซียนผู้ร่วมงานได้เห็นสิ่งที่เกิดขึ้น สัมผัสได้ถึงพลังที่ทำให้พระองค์ ยืนหยัดอย่างสงบ และตอบโต้ในเวลาเดียวกัน ทั้งนี้ เพื่อได้เน้นย้ำความจริงในฐานะชุมพาบาลแท้ที่มีองค์พระจิตเจ้า นำพา คือ การที่ทรงชี้แสดงให้เห็นพระเจ้าในมุมมองแห่งพระเมตตาอันยิ่งใหญ่ และการเรียกร้องให้ชีวิตคริสตชน และชีวิตเจิมถวายตัวเป็นประจักษ์พยานแห่งการรับใช้ มากกว่าการกดขี่ข่มเหง การแสวงหาผลประโยชน์จากความ อยุติธรรม หรือแม้แต่การ “เสแสร้งทำเพื่อให้ตัวเองดูเป็นคนดี และชอบธรรม แต่ในชีวิตจริงเอาเปรียบคนอื่น กดขี่ ลูกน้องโดยจ่ายเงินเดือนอย่างไม่ยุติธรรม…” (บทเทศน์พระสันตะปาปา 4 มี.ค. 2560) พระดำรัสเช่นนี้มีออกมา บ่อยครั้งและต่อเนื่อง จนแสดงได้ถึงสิ่งที่พระจิตเจ้าทรงนำพระองค์ และแสดงให้เห็นถึงความปรารถนาของพระองค์ ที่ต้องการเป็นเสียงร้องถึงผู้ที่กดขี่ว่า “ท่านเป็นผู้ไม่ยุติธรรม” และเป็นเสียงร้องให้กับผู้ถูกกดขี่ว่า “ท่านคือผู้ที่คู่ควร กับพระเมตตา” ซึ่งเราซาเลเซียนผู้ร่วมงานพร้อมจะน้อมรับ และอยู่เคียงข้างพระองค์ในสำนึกรู้ถึงการเป็น “เสียง ของผู้ที่ร้องตะโกนในถิ่นทุรกันดาร” (ยน.1 : 23) ร่วมกับองค์สมเด็จพระสันตะปาปาเสมอ

ด้วยเหตุนี้ต่อหน้าสถานการณ์ในปัจจุบัน ซาเลเซียนผู้ร่วมงานจึงไม่เป็นเพียงแค่คนที่ทำงาน หรือคนที่ช่วยงาน ใครต่อใครเท่านั้น แต่ยังมีหน้าที่ตอบสนองต่อความต้องการของผู้ใหญ่สูงสุดของคณะ คือ องค์สมเด็จพระสันตะ ปาปาในทุกเรื่อง ซึ่งในสมณสาส์นของพระองค์ Amoris Laetitia (ชื่อย่อ AL.) “ความชื่นชมยินดีแห่งความรัก” คุณพ่ออัคราธิการได้นำเสนอพันธกิจสำหรับครอบครัวซาเลเซียนในคำขวัญปีนี้  “เราคือครอบครัว” (We are a Family) ให้จับต้องได้ในฐานะที่เราเป็น “ซาเลเซียน” ให้สำนึกว่าพระเจ้าทรงพระเมตตาเกินกว่าความเข้าใจ ของเรา แต่ในความเป็นจริงแห่งชีวิตเราสามารถสัมผัสพระเมตตานี้ได้ด้วยใจสุภาพแท้จริงต่อผู้คน เรามั่นใจที่จะมอบ ความเมตตานี้ต่อไป …เหตุเพราะเราตระหนักได้ว่า ความเมตตาที่เราได้รับตลอดมาในชีวิต รวมถึงการถูกเรียกให้ ถวายคำสัญญาเพื่อเป็นซาเลเซียนผู้ร่วมงานนั้น แท้จริงเราไม่ได้ริเริ่มสิ่งใดเลย แต่ทรงริเริ่มทุกอย่างทั้งสิ้น ดังนั้น หากทรงประทานพระเมตตามากมายแก่เรา  เราจึงไม่ยึดพระเมตตานี้ไว้เป็นของเราเพียงลำพัง   แต่เราจะส่งต่อ ความเมตตานี้ให้ทุกคนที่สัมผัสชีวิตของเราในสถานะและบทบาท ณ ปัจจุบันขณะของเราแต่ละคน  และเราพร้อม ที่จะเป็นหลอดไฟ ที่ส่องแสงอย่างต่อเนื่องอาศัยการที่ต่ออยู่กับเครื่องกำเนิดไฟฟ้า และถึงแม้ว่าเราจะเป็นเพียง แค่หลอดไฟเล็ก ๆ ที่ฉายแสงในครัว ในห้องนอน ในห้องโถง หน้าบ้าน ตามถนน ในห้องน้ำ หรือในห้องเก็บของ ฯ เราทุกคน…ซาเลเซียนผู้ร่วมงานจะฉายแสงแห่งความจริงแห่งพระเมตตาเสมอ ไม่ว่าเราจะอยู่ ณ ที่ใดภาพรวมเข้าเงียบ

ซาเลเซียนผู้ร่วมงานพร้อมจะทําหน้าที่เผยแผ่ข่าวดีในการทำหน้าที่ประจําวันอย่างดี โดยอาศัยจิตตารมณ์ ซาเลเซียนเป็นแรงบันดาลใจ และเรามุ่งเอาใจใส่ต่อเยาวชนเป็นพิเศษ รวมทั้งให้ความสนใจต่อคําสอนของ พระศาสนจักรด้านความยุติธรรมในสังคม และการสื่อสาร เพื่อร่วมสนับสนุนงานของพระศาสนจักรท้องถิ่น ดังที่   บิดาของเรา…..คุณพ่อบอสโกได้เคยทำในชีวิตของท่าน เราพร้อมที่จะเป็นกระจกที่สะท้อนชีวิตของตัวเราเอง และของบรรดาผู้เจิมถวายตัวและผู้ได้รับการอภิเษกให้ตระหนักถึงชีวิตที่เป็นพยานแห่งความยากจนแห่งคุณค่าพระวรสารอย่างแท้จริง

ซาเลเซียนผู้ร่วมงานจะรวมตัวกันเป็นหมู่คณะระดับบ้าน ระดับแขวง ระดับภาค และระดับโลก เช่นเดียวกับ รูปแบบโครงสร้างของคณะนักบวชซาเลเซียน ซึ่งแต่ละบ้านจะสร้างโอกาสของการพบปะกันในการศึกษาแนวทาง ของคณะ และจิตตารมณ์ซาเลเซียนอย่างสม่ำเสนอ ส่วนในระดับแขวงเรามีกิจกรรมร่วมกันในโอกาสเข้าเงียบ ประจำปี เพื่อการแบ่งปันประสบการณ์งานอภิบาลในระบบป้องกัน ศึกษาเอกสารของพระศาสนจักร และทำกิจ ศรัทธาร่วมกัน เพื่อทำให้เกิดความสัมพันธ์ที่แนบแน่นฝ่ายจิต และหยั่งรากลึกในความรักของผู้ตั้งคณะ และความ เชื่อศรัทธา ในพระมารดาองค์อุปถัมถ์ของคริสตชนภาพรวมกับอัคราธิการ

คุณพ่อบอสโกต้องการให้มีผู้ร่วมงานกับท่านมาก ๆ เพราะเยาวชนจะมีอยู่เสมอในทุกสมัย พวกเราผู้ร่วมงานซาเลเซียนผู้ซึ่งเป็นความฝันแรกของท่านกำลังร่วมงานกับท่านในฐานะของเพื่อนร่วมทางที่เคียงข้างกัน กำลังร่วม ทำให้ความฝันของท่าน และความฝันของเราหลอมรวมเป็นหนึ่งเดียวกัน จนเกิดความเป็นจริงในการทำงานเพื่อ ความดีของบรรดาเยาวชน แล้วคติพจน์ของคุณพ่อบอสโก “ขอแต่วิญญาณ สิ่งอื่นไม่ต้องการ” จะเป็นจริงได้ เมื่อเราเข้าถึงใจบิดาของเรา…บอสโก ผู้ซึ่งเป็นป่าไม้ที่ให้ร่มเงาปกป้องชีวิตของเยาวชน นี่คือ ซาเลเซียน….ผู้ร่วมงาน

-ธ.อาภรณ์-